Loading...

สำนักงานสิ่งแวดล้อมและควบคุมมลพิษที่ 3 (พิษณุโลก)

Environmental and Pollution Control Office 3 (Phitsanulok)

ขนาดอักษร
เปลี่ยนการแสดงผล C C C
TH EN
เกี่ยวกับหน่วยงาน

ประวัติความเป็นมา

ประวัติความเป็นมา

 

 
        ในหลายทศวรรษที่ผ่านมาประเทศไทยได้ใช้ทรัพยากรธรรมชาติเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมไปมาก ส่งผลให้เกิดความเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างกว้างขวาง และยังส่งผลกระทบต่อคุณภาพและวิถีการดำรงชีวิตของประชาชนเป็นวงกว้างและรุนแรงขึ้นตามลำดับในขณะเดียวกันหน่วยงานภาครัฐที่มีหน้าที่รับผิดชอบบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมก็มีการดำเนินงานอย่างไม่เป็นเอกภาพและขาดการบูรณาการดังนั้น ในการปฏิรูประบบราชการ โดยเฉพาะในพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 จึงได้จัดตั้งกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมขึ้นใหม่ ให้มีอำนาจหน้าเกี่ยวกับการสงวน อนุรักษ์ และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การจัดการการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน และราชการอื่นตามที่มีกฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมหรือส่วนราชการที่สังกัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จากภารกิจที่ได้รับมอบหมาย กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจึงได้กำหนดนโยบายการดำเนินงานไว้อย่างชัดเจน ที่จะดำเนินการให้ทรัพยากรธรรมชาติที่หลากหลายของประเทศได้อยู่คู่กับสังคมไทยตลอดไป รวมทั้งประชาชนได้มีการดำรงชีวิตอยู่อย่างมีความสุขภายใต้คุณภาพสิ่งแวดล้อมที่ดี
 

 

สำนักงานสิ่งแวดล้อมและควบคุมมลพิษ

 

 

           การแบ่งส่วนราชการตามกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการสำนักงานปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2565 และ กฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการกรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2565 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา วันที่ 20 กรกฎาคม 2565 โดยตัดโอนสำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 1-16 จากสำนักงานปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ตลอดจนภารกิจที่อยู่ในความรับผิดชอบของสำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 1-16 มาเป็นของสำนักงานสิ่งแวดล้อมและควบคุมมลพิษที่ 1-16 กรมควบคุมมลพิษ ในการนี้สำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 3  จึงได้เปลี่ยนสังกัดและชื่อตามกฎกระทรวงฯ จากเดิมสำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 3 เป็นสำนักงานสิ่งแวดล้อมและควบคุมมลพิษที่ 3 (พิษณุโลก) สังกัด กรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม แต่ยังคงใช้สถานที่ตั้งของหน่วยงานเดิม โดยมีพื้นที่รับผิดชอบดังนี้

 
สํานักงานสิ่งแวดล้อมภาค
พื้นที่จังหวัดที่รับผิดชอบ
จังหวัด
 สํานักงานสิ่งแวดล้อมและควบคุมมลพิษที่ 1 (เชียงใหม่) เชียงใหม่ เชียงราย แม่ฮองสอน  ลําพูน 4
 สํานักงานสิ่งแวดล้อมและควบคุมมลพิษที่ 2 (ลำปาง) ลําปาง พะเยา แพร่  น่าน 4
 สํานักงานสิ่งแวดล้อมและควบคุมมลพิษที่ 3 (พิษณุโลก)  พิษณุโลก ตาก อุตรดิตถ์  สุโขทัย เพชรบูรณ์ 5
 สํานักงานสิ่งแวดล้อมและควบคุมมลพิษที่ 4 (นครสวรรค์)  นครสวรรค์ กําแพงเพชร อุทัยธานี  พิจิตร 4
 สํานักงานสิ่งแวดล้อมและควบคุมมลพิษที่ 5 (นครปฐม)  นครปฐม ชัยนาท  สุพรรณบุรี  สมุทรสาคร 4
 สํานักงานสิ่งแวดล้อมและควบคุมมลพิษที่ 6 (นนทบุรี)  นนทบุรี สิงห์บุรี อ่างทอง ประทุมธานี พระนครศรีอยุธยา 5
 สํานักงานสิ่งแวดล้อมและควบคุมมลพิษที่ 7 (สระบุรี)  สระบุรี  ลพบุรี  นครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว 5
 สํานักงานสิ่งแวดล้อมและควบคุมมลพิษที่ 8 (ราชบุรี)  ราชบุรี สมุทรสงคราม กาญจนบุรี  เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ 5
 สํานักงานสิ่งแวดล้อมและควบคุมมลพิษที่ 9 (อุดรธานี)  อุดรธานี เลย หนองคาย นครพนม สกลนคร บึงกาฬ 6
 สํานักงานสิ่งแวดล้อมและควบคุมมลพิษที่ 10 (ขอนแก่น)  ขอนแก่น มหาสารคาม กาฬสินธุ์ ร้อยเอ็ด หนองบัวลําภู 5
 สํานักงานสิ่งแวดล้อมและควบคุมมลพิษที่ 11 (นครราชสีมา)  นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ชัยภูมิ 4
 สํานักงานสิ่งแวดล้อมและควบคุมมลพิษที่ 12 (อุบลราชธานี)

 อุบลราชธานี  ศรีสะเกษ  ยโสธร  มุกดาหาร  อํานาจเจริญ

5
 สํานักงานสิ่งแวดล้อมและควบคุมมลพิษที่ 13 (ชลบุรี)  ชลบุรี ฉะเชิงเทรา ระยอง จันทบุรี ตราด สมุทรปราการ 6
 สํานักงานสิ่งแวดล้อมและควบคุมมลพิษที่ 14 (สุราษฎร์ธานี)  สุราษฎร์ธานี  ชุมพร พัทลุง  นครศรีธรรมราช 4
 สํานักงานสิ่งแวดล้อมและควบคุมมลพิษที่ 15 (ภูเก็ต)  ภูเก็ต พังงา กระบี่ ตรัง ระนอง 5
 สํานักงานสิ่งแวดล้อมและควบคุมมลพิษที่ 16 (สงขลา)  สงขลา สตูล  ปัตตานี  ยะลา  นราธิวาส 5

 

 ตามกฎกระทรวง แบ่งส่วนราชการกรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2565 ณ วันที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2565 อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 8 ฉ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2543 ข้อ 3 ให้แบ่งส่วนราชการกรมควบคุมมลพิษ ดังต่อไปนี้

      1. สำนักงานเลขนุการกรม
      2. กองกฎหมาย
      3. กองจัดการกากของเสียและสารอันตราย
      4. กองจัดการคุณภาพน้ำ
      5. กองจัดการคุณภาพอากาศและเสียง
      6. กองตรวจมลพิษ
      7. กองยุทธศาสตร์และแผนงาน
      8. ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
      9. ศูนย์ปฏิบัติการวิเคราะห์มลพิษและสิ่งแวดล้อม
     10. สำนักงานสิ่งแวดล้อมและควบคุมมลพิษที่ 1-16 

     เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ โดยที่มีการตัดโอนสำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 1 - 16 จากสานักงานปลัดกระทรวง กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ตลอดจนภารกิจที่อยู่ในความรับผิดชอบของสำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 1 - 16 มาเป็นของสำนักงานสิ่งแวดล้อมและควบคุมมลพิษที่ 1 - 16 กรมควบคุมมลพิษ สมควรปรับปรุงการแบ่งส่วนราชการและหน้าที่และอำนาจของกรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่อให้สอดคล้องกับภารกิจที่เพิ่มขึ้น และเหมาะสมกับสภาพของงานที่เปลี่ยนแปลงไป อันจะทำให้การปฏิบัติภารกิจตามหน้าที่และอำนาจมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลยิ่งขึ้น จึงจำเป็นต้องออกกฎกระทรวงนี้